วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

ซีแซนทีน (zeaxanthin) คืออะไร?

                                    zeaxanthin ซีแซนทีน
            zeaxanthin คือ รงควัตถุ (pigment) ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) แต่มีคุณสมบัติแตกต่างจากแคโรทีนอยด์ชนิดอื่น คือจะไม่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอ (vitamin A) ซีเซนทีนเป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ พบมากในผัก ผลไม้ เช่น ผลฟักข้าว ผักขม ปวยเล้ง ส้มเขียวหวานข้าวโพด ไข่แดง สาหร่ายสไปรูริน่า (spirulina) ผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลืองและสีแดง ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสารให้สี (coloring agent)

      ประโยชน์ต่อสุขภาพของ zeaxanthin
      Zeaxanthin เป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็น functional food ซึ่งมีสรรพคุณสำคัญคือ

  1. zeaxanthin เป็นองค์ประกอบสำคัญในจอตา (Retina) โดยเฉพาะส่วนที่เรียกว่า Macular ซึ่งเป็นชั้นของเม็ดสี ทำหน้าที่กรองแสงที่จะผ่านเข้าสู่จอตาและช่วยลดการสะท้อนของแสง ป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา ทำให้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคหลายชนิด อาทิเช่น โรคต้อกระจก โรคจอรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสารที่เหมาะกับผู้ใช้สายตามาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กับแสงสว่างจ้า กลางแดด ผู้ที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆ ผู้ที่โดนแฟลซ ดูโทรทัศน์มากและนาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ รวมทั้งมะเร็งเต้านม
  2. ช่วยบำรุงสุขภาพดวงตาโดยการลดอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องจอตาจากการถูกทำลายโดยแสงสีฟ้า และแสงใกล้อุลตร้าไวโอเลต (Ophthalmoprotective) เช่น แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากดวงอาทิตย์
  3. ป้องกันการเกิดจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age-Related Macular Degeneration; AMD) ซึ่งเป็นภาวะความเสื่อมที่เกิดขึ้นบริเวณ Macula ของจอตา ถ้าชั้นเม็ดสีบริเวณนี้ถูกทำลายมากจะทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนที่ใช้รับภาพได้ (Photoreceptors) อาจส่งผลให้การรับภาพและการมองเห็นสูญเสียไป
  4. มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ทั่วร่างกาย
       ปัจจุบันค้นพบว่า ผลฟักข้าว(Gac furit) มีสาร Zeaxanthin มากกว่า ข้าวโพด 40 เท่า  อยู่ในผลิตภัณฑ์ ฟักข้าวแคปซูล
     สอบถามข้อมูลได้ที่
     คุณ วีระชัย  ทองสา   โทร. 084-6822645 , 085-0250423
           อีเมล์ weerachai.coffee@hotmail.com
    





วิตามิน ซี และ ประโยชน์

                           วิตามิน ซี และ ประโยชน์
        ดร.ไลนัส พอลลิ่ง ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ถึง 2 ครั้ง ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "วิตามินซีกับโรคหวัด" เขากล่าวว่าหากเราได้รับ วิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัม จะสามารถป้องกันหวัด และถ้าเป็นหวัดก็จะหายเร็วกว่า โดยจะมีวันป่วยน้อยกว่าคนปกติถึง 60%
       นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมมากมายที่ทำให้ทราบว่า วิตามินซี มีประโยชน์มากกว่าการป้องกันโรคหวัด ได้แก่
     1.   วิตามิน ซี สามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคได้
         วิตามิน ซี มีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นวิตามิน ซี ยังช่วยลดการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ในร่างกายหรือฮิสตามีน ซึ่งสารก่อภูมิแพ้นี้จะถูกกระตุ้นให้มีปริมาณสูงขึ้น เมื่อร่างกายได้รับสารหรือสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ แต่ถ้าร่างกายมีวิตามิน ซี เพียงพอ ก็จะสามารถบรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส จากคุณสมบัติการเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ
   2. วิตามิน ซี ช่วยบำรุงผิวได้
        สำหรับการดูแลสุขภาพเพื่อให้มีผิวพรรณที่สมบูรณ์ การรับประทานผักสดและผลไม้สด ทำให้ผิวสวย เหงือกและฟันแข็งแรง นั่นเพราะวิตามิน ซี ในผักและผลไม้ จะช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตของผิว เมื่อเซลล์ผิวได้รับอาหารมากก็จะทำงานดีขึ้น ผิวจะดูมีสุขภาพดี และเรียบเนียน รวมทั้งวิตามิน ซี ยังช่วยเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจนในเซลล์ ทำให้ผิวแน่น และยืดหยุ่นดีขึ้น ไม่เหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร
    วิตามิน ซี ยังช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจากวิตามิน ซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยไปเสริมสร้างผนังเซลล์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง และต่อต้านการอักเสบ ทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น
    3.   วิตามิน ซี จะถูกใช้ในร่างกายมากกว่าปกติในคนที่สูบบุหรี่หรือคนที่อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่
       มีการวิจัยพบว่า เด็กที่ผู้ปกครองสูบบุหรี่ จะมีปริมาณวิตามิน ซี ในร่างกายลดลงครึ่งหนึ่ง ของเด็กที่ผู้ปกครองไม่สูบบุหรี่ ดังนั้น คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีคนสูบบุหรี่หรือสูบบุหรี่เอง ควรรับประทานวิตามิน ซี เสริม โดยวิตามิน ซี สามารถช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต ของคนที่สูบบุหรี่ที่มีระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี ให้มีสภาพเหมือนคนที่มีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว โดยพบว่า การเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือด จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อรับประทานวิตามิน ซี ในขนาด 2,000 มิลลิกรัม
     4.   วิตามิน ซี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจก
          มีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่พบว่า ผู้ที่รับประทานวิตามิน ซี มาอย่างน้อย 10 ปี จะมีโอกาสที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นมัว ซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจก ลดลงถึง 77% ซึ่งยังต้องการการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
        การรับประทานวิตามิน ซี จากผักและผลไม้อย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอ
         เนื่องจากวิตามิน ซี เป็นวิตามิน ที่เสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ ความร้อน หรือความชื้น ดังนั้นเราควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่สดใหม่ หรือยิ่งเก็บจากต้นได้จะยิ่งดี โดยที่การรับประทานจากผลไม้ เช่น ส้ม 1 ผลที่เก็บใหม่จากต้น จะมีวิตามิน ซี ประมาณ 20-40 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าเราต้องการเพียงเพื่อไม่ให้ขาดวิตามิน ซี ต้องรับประทานส้มที่เก็บใหม่จากต้นวันละ 2-3 ผล แต่ในความเป็นจริง ไม่สามารถเลือกได้ ดังนั้นปริมาณวิตามิน ซี ที่ร่างกายได้รับแต่ละวันจะไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ
      การเลือกรับประทานวิตามิน ซี ให้มีประสิทธิภาพ
     ควรรับประทานวิตามิน ซี จากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากในธรรมชาติเรามักพบวิตามิน ซี ร่วมกับสารอาหารกลุ่มไบโอฟลาโวนอยด์ ดังนั้นการรับประทานวิตามิน ซี เสริม ควรเลือกรับประทานวิตามิน ซี ที่มีส่วนผสมของไบโอฟลาโวนอยด์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิตามิน ซี และทำให้วิตามิน ซี อยู่ในร่างกายได้ดีขึ้น
     การรับประทานวิตามิน ซี เสริม ปลอดภัยแม้รับประทานในระยะยาว
     วิตามิน ซี เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายสามารถขับออกได้ตามปกติโดยทางไต หากเราได้รับวิตามิน ซี น้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับ ก็จะมีอาการของโรคเลือดออกตามไรฟัน แต่การได้รับวิตามิน ซี ที่มากเกินไป ร่างกายสามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทานวิตามิน ซี แม้จะรับประทานในปริมาณที่สูง มีผลการวิจัย พบว่าในคนปกติ การรับประทานวิตามิน ซี เป็นประจำทุกวัน ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สามารถรับประทานได้สูงถึง 3,000 มิลลิกรัมโดยไม่มีอันตรายใดๆ
      ปริมาณวิตามิน ซี ที่ควรได้รับในแต่ละวัน
สำหรับความต้องการที่ควรจะได้รับวิตามิน ซี ในแต่ละวันนั้น แตกต่างกันตามวิถีชีวิต และความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย เช่น
    · ผู้ที่มีอาการเป็นหวัด เป็นโรคภูมิแพ้ และร่างกายอ่อนแอ ควรได้รับวันละ 1,000-2,000 มิลลิกรัม
   · ผู้ที่อยู่ท่ามกลางมลภาวะที่เป็นพิษ มีความเครียดในร่างกาย ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
   · ผู้ที่ต้องการดูแลและบำรุงสุขภาพ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
     ปัจจุบันค้นพบว่า ผลฟักข้าว(Gac furit) มีวิตามิน ซี มากกว่า ส้ม 40 เท่า อยู่ในผลิตภัณฑ์ ฟักข้าวแคปซูล
     สอบถามข้อมูลได้ที่
     คุณ วีระชัย  ทองสา   โทร. 084-6822645 , 085-0250423
           อีเมล์ weerachai.coffee@hotmail.com



เบต้าแคโรทีน คืออะไร? (Bata-carotene?)

                    เบต้าแคโรทีน คืออะไร? (Bata-carotene?)
     เบต้าแคโรทีน พบมากในผัก และผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือแดง เพราะเบต้าแคโรทีน คือ ตัวการทำให้พืชผักและผลไม้มีสีสันดังกล่าว เช่น ผลฟักข้าวแครอท ฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน แตงโม แคนตาลูป มะละกอสุก และผักที่มีสีเขียว เช่น บรอคโคลี มะระ ผักบุ้ง ต้นหอม ผักคะน้า ผักตำลึง
      สำหรับปริมาณในการรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณของเบต้าแคโรทีนที่ควรรับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนั้น คือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในการรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้
     เบต้าแคโรทีน มีประโยชน์ต่อร่างกาย และผิวพรรณอย่างมาก คือ ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก ช่วยป้องกันผิวที่อาจเกิดจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดดได้ จึงทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย แลดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของเซลล์เยื่อบุตาขาว กระจก ตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย
     นอกจากเบต้าแคโรทีน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายและผิดพรรณของคนเราแล้ว มันยังสามารถทำอันตรายกับตัวเราได้เช่นกัน เนื่องจาก เบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-Oxidant) ที่เมื่อร่างกายได้รับมากกว่าความต้องการจะหันไปทำหน้าที่ในทางตรงกันข้าม โดยกลายตัวเป็น "Pro-Oxidant" ซึ่งเป็นสารที่ส่งเสริม "การเกิด" อนุมูลอิสระ ดังนั้นการบริโภคเบต้าแคโรทีนที่มากเกินไป อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะการรับประทานเบต้าแคโรทีนในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ขณะที่การรับประทานอาหารแบบธรรมชาติทั่วไป เช่น มะละกอสุก ฟักทอง ตำลึง โอกาสที่ร่างกายจะได้รับสารนี้มากเกินไปจะเป็นไปได้ยาก เพราะเราจะอิ่มก่อนได้รับปริมาณมากเกินไป
    ปัจจุบันค้นพบว่า มีเบต้าแคโรทีน ใน ผลฟักข้าว มากกว่าแครอท ถึง 20 เท่า
     ผลิตภัณฑ์ ฟักข้าวแคปซูล  ผลิตจาก ผลฟักข้าว 100% โดยสกัดเอามาเฉพาะจากน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดของผลฟักข้าว ซึ่งมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูงมาก
     สอบถามข้อมูลที่
      คุณ วีระชัย  ทองสา   โทร. 084-6822645 , 085-0250423
               อีเมล์ weerachai.coffee@hotmail.com



ไลโคปีน Lycopene คืออะไร?

                               ไลโคปีน Lycopene คืออะไร?
         ไลโคปีน Lycopene เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสผิวขาวใส อมชมพู แต่แท้จริงแล้ว ไลโคปีน มีคุณประโยชน์มากมายกว่าการทำให้ผิวขาวอมชมพู และสิ่งใดที่ทำให้ไลโคปีน มาเป็นที่นิยมในวงการรักสวยรักงาม
        ในสภาพสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบัน การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว การสูบบุหรี่จัดเพราะต้องการลดความเครียด สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นตัวทำลายสุขภาพและผิวพรรณ ทำให้ความเสื่อมของวัยรวดเร็วยิ่งขึ้น
     ดร.เอ็ดเวิร์ด จีโอวานนุซซี่ จาก
Harvard Medical School สารอาหารที่พบในมะเขือเทศลูกแดงๆ จะแซกแทรงการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมและเนื้องอก มะเร็งต่อมลูกหมาก รวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่จะเกิดขึ้นใหม่ในร่างกายของเรา
     ไลโคปีน เป็น carotenoid พบมากใน
มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ตรงกันข้ามกับเบตาแคโรทีน ไม่ถูกทำลายระหว่างการแปรรูปอาหารเหมือนเบตาแคโรทีน ทั้งยังดูดซึมได้ดี ร่างกายของเราไม่ผลิตไลโคปีน ดังนั้นเราจึงต้องทานไลโคปีนเข้าไป จากผัก ผลไม้หรืออาหารเสริม แม้กระทั่งอาหารที่ทำจากมะเขือเทศแปรรูปต่างๆ
      carotenoid เป็นสารสีธรรมชาติที่พบมากที่สุด พบในคลอโรพลาสต์ในรูป chromoproteins หากอยู่นอกคลอโรพลาสต์จะพบเป็น acyclic carotenoids carotenoid ที่เป็นสีของมะเขือเทศคือไลโคปีน
     จากผลวิจัยที่ผ่านมาในอดีต lycopeneเป็นเม็ดสีที่ช่วยให้ผักและผลไม้ เช่นมะเขือเทศ แตงโม ส้มโอมีสีชมพูและแดง และที่สำคัญ ไลโคปีน จะปรากฎขึ้นเพื่อแสดงความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้รับนอกเหนือจากการป้องกันและสามารถลดอัตราการเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งดังกล่าว
      ปี1990 การศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทดสอบคนจำนวน 50000คนให้รับประทานอาหารที
      มีปริมาณมะเขือเทศสูงในเวลาติดต่อกัน พบว่า สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้ถึง34%
     นอกจากนี้ไลโคปีนปริมาณสูงๆยังช่วยลดคลอเรสเตอรอลตัวไม่ดีหรือ LDL ที่มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารที่มีไลโคปีน อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดอัตราการหัวใจวายของผู้ชายได้ถึง 50%
     คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หากรับประทานไลโคปีนเป็นประจำจะลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดตีบและหัวใจวาย นอกจากนี้ยังสมารถช่วยสร้างภูมิต้านทานในการต่อสู้กับโรคหืดหอบได้อีกด้วย
     ร่างกายของคนเราควรได้รับปริมาณ ไลโคปีน อย่างน้อย 6.5 มก.ต่อวัน ซึ่งเทียบได้กับการทานมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบในอาหาร 10 ครั้ง/สัปดาห์
     ปัจจุบันค้นพบว่า ผลฟักข้าว(Gac furit) มีสารไลโตปีน มากกว่า มะเขือเทศ 70 เท่า
     อยู่ในผลิตภัณฑ์ ฟักข้าวแคปซูล
     สอบถามข้อมูลได้ที่
     คุณ วีระชัย  ทองสา   โทร. 084-6822645 , 085-0250423
           อีเมล์ weerachai.coffee@hotmail.com